วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 8

วันที่ 21 - 25 ธันวาคม 2552 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มระบบฐานข้อมูล(ศทส.)

สิ่งที่ได้รับจาการฝึกประสบการณ์ ได้เรียนรู้เทคนิคในการเขียนจดหมายราชการและความรู้ในการการพิมพ์รายงานการประชุมเพิ่มเติม ซึ่งต้องจัดพิมพ์ตามแบบฟอร์มที่มีอยู่ และต้องใช้คำที่เป็นทางการและเหมาะสม และได้เสนอความคิดเห็นในส่วนของการใช้ประโยคบางประโยคในจดหมายเพื่อให้ดูสอดคล้องกันและเข้าใจง่ายขึ้น ได้รู้วิธีการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ด้วยการ FTP โดยจะต้องขอ Address server , username ,password จากบริษัทรับเหมาจัดทำเว็บเพื่อจะได้นำข้อมูลดังกล่าว up ในหน้าเว็บของกระทรวงฯ อีกทั้งได้สรุปส่วนของงานจ้างทำเว็บไซต์ทั้งตัวของรายงานและงานออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งไม่สมบูรณ์ตามที่ตกลงกันไว้ใน TOR จึงต้องสรุปส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์นั้นให้แก่บริษัทและทางคณะกรรมการตรวจรับเว็บไซต์โดยมีพี่ผู้ดูแลการฝึกตรวจงานที่สรุปมาอีกครั้ง อีกทั้งยังได้ความรู้ด้านเครือข่ายจากบางจังหวัดซึ่งแจ้งเข้ามาในส่วนของอินเตอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ โดยทำการเช็ค IP router ก่อนหากหาเจอ ก็เช็คส่วนอื่นต่อไป เช่น Ping Switch ฯลฯ

ปัญหา เนื่องจากส่วนงานของเว็บไซต์นั้นยังไม่สมบูรณ์ทั้งตัวรายงานเองและส่วนของระบบ ทำให้เว็บไซต์ของกระทรวงฯนั้นมีปัญหาเกิดขึ้นหลายด้าน เช่น ลิงก์เสีย ข้อมูลบางส่วนหายไป ตัวรายงานที่ส่งมานั้นไม่สมบูรณ์ตาม TOR


วิธีแก้ปัญหา สรุปงานที่ไม่สมบูรณ์ทั้งส่วนของรายงานและตัวระบบให้ผู้ดูแลทราบ จึงจัดประชุมเพื่อแจ้งให้ทางบริษัทรับเหมาฯและคณะกรรมการทราบงานที่ต้องแก้ไข และชี้แจงให้บริษัทรับเหมาฯทราบโดยให้ทำตาม TOR ให้สมบูรณ์ก่อน เนื่องจากใกล้จะครบกำหนดการส่งงาน

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 7

วันที่ 14 - 18 ธันวาคม 2552 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มระบบฐานข้อมูล(ศทส.)

สิ่งที่ได้รับจาการฝึกประสบการณ์ มีความรู้ในส่วนของระบบงานของกระทรวงฯซึ่งต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนนั้นคือส่วนของงานออกแบบเว็บไซต์ และอีกส่วนคืองานพัฒนาเว็บไซต์หลักของกระทรวงฯ ซึ่งในส่วนของงานออกแบบนั้นต้องให้ผู้รับเหมาของบริษัทจัดส่งเป็นรูปแบบรายงานให้ถูกต้องตามแบบฟอร์มที่เป็นทางการและมีประโยชน์ต่องานส่วนราชการ ซึ่งรูปแบบรายงานที่ทางราชการต้องการนั้นได้มีในการเรียน จึงทำให้เข้าใจง่ายขึ้นในองค์ประกอบต่าง ๆ ของรายงาน อีกทั้งได้ความรู้ของการติดต่อกับเครือข่ายและฐานข้อมูลของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งได้เรียนรู้งานส่วนของการรับเอกสารเข้าในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทดลองเช็ค user และ password ของหน่วยงานที่ใช้การไม่ได้เพื่อจะได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น

ปัญหา เนื่องจากระบบงานเว็บไซต์ของกระทรวงฯที่ร่างไว้ใน TOR นั้นมีความซับซ้อนและขัดแย้งกันในบางส่วนจึงทำให้ไม่เข้าใจและไม่สามารถเช็คข้อมูลตาม TOR ได้ครบด้วยตนเอง

วิธีแก้ปัญหา นำสิ่งที่ไม่เข้าใจถามพี่ผู้ดูแลการฝึกซึ่งทางผู้ดูแลทราบก็ได้ชี้แจงถึงระบบงานดังกล่าวทำให้เข้าใจและสามารถตรวจและสรุปงานที่ทางบริษัทยังไม่ได้ดำเนินและส่งมอบงานให้กระทรวงฯได้

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 6

วันที่ 7 - 11 ธค. 2552 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มระบบฐานข้อมูล(ศทส.)

สิ่งที่ได้รับจาการฝึกประสบการณ์ ได้รับความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารบรรณ ได้ทราบวิธีการรับเอกสารเข้าและการทดสอบส่งเอกสารให้ผู้ใช้ที่แจ้งปัญหามา เช่น บางคนส่งเอกสารไม่ได้ เราเองต้องเข้าไปเช็คให้เขาและลอง Test ส่งในรูปแบบหลาย ๆ อย่างทั้งแนบไฟล์รูป และไม่แนบไฟล์ เพื่อทดสอบว่าใช้งานได้จริงหรือไม่ รวมทั้งได้ความรู้ของ DB และรู้จักวิธีการสร้างรวมทั้งกำหนดสิทธิ์ ให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาปรับปรุงแก้ไขข้อมูลได้ด้วยตัวเองเฉพาะสิทธิ์ที่เรากำหนดให้เท่านั้น อีกทั้งยังได้ความรู้ของโปรแกรมรีโมทซึ่งพี่ ๆ จะสอนวิธีการเปลี่ยนรหัสผ่านให้กับหน่วยงานที่เราต้องการเปลี่ยนให้ใหม่ เมื่อเขาแจ้งเข้ามา และยังทำให้ตัวเราเองมีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เนื่องจากส่วนใหญ่นั้นที่เราเรียนมานั้นยังน้อยมากสำหรับการใช้ในที่ฝึกงานนั้น เพราะยังมีหลายระบบงานที่เราเองไม่ทราบจึงต้องหมั่นถามพี่ ๆ และหาความรู้ให้ตัวเองบ่อย ๆ

ปัญหา เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ปฏิบัติงานนั้นเสียบ่อย จึงทำให้การทำงานบางส่วนล่าช้า
วิธีการแก้ปัญหา แจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงซ่อมแซมทราบ เพื่อจะได้ซ่อมได้ตรงจุด

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 5

วันที่ 30 พย.- 4 ธค. 2552 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มระบบฐานข้อมูล(ศทส.)

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์ ได้เรียนรู้ที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้รู้ระบบการทำงาน และได้รู้หลักในการร่างหนังสือขอความร่วมมือตอบแบบสอบถาม ว่ามีหลักการเขียนอย่างไรบ้างซึ่งตอนแรกนั้นพี่ ๆ จะให้ทำเองไปก่อนแล้วเขาจะอธิบายให้ ว่าแต่ละส่วนนั้นต้องกล่าวถึงเรื่องใดบ้าง และได้เรียนรู้การทำงานของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

ปัญหา ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรในเรื่องของการร่างหนังสือขอความร่วมมือตอบแบบสอบถาม เพราะเป็นของราชการ
วิธีแก้ปัญหา หาข้อมูลเพื่อดูฟอร์มการร่าง เมื่อเสร็จก็ส่งให้พี่ผู้ดูแลเขาจะสอนว่าส่วนไหนเริ่มยังไง กล่าวถึงอะไร ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 4

วันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2552 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มระบบฐานข้อมูล(ศทส.)

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์ ความรู้ที่ได้จากการฝึกงานนี้มีไม่สิ้นสุดจริงๆ อาทิตย์นี้ค่อนข้างเน้นในเรื่องของฐานข้อมูล คือ พี่ ๆ สอนวิธีการเช็คว่าข้อมูลส่วนนั้นเดิมแล้วอยู่ตรงไหน และสอนวิธีการอัพลงให้ข้อมูลกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม ฟังแล้ว งง มาก ๆ เพราะมีหลายขั้นที่ต้องใส่รหัสผ่าน ก็นะฐานข้อมูลก็ต้องมีการตั้งความปลอดภัยไว้สูงอยู่แล้ว และในส่วนของงานที่เว็บไซต์ของกระทรวงนั้นก็ต้องคอยตรวจสอบ link ให้ใช้งานได้ไม่ติดขัด เพราะเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานอื่น ๆ อีกหลายหน่วยงาน ทำให้ต้องคอยตรวจสอบเว็บไซต์ตลอด อีกทั้งได้เข้าฟังการประชุมครั้งที่ 2 สืบเนื่องจากเรื่องเดิมนั้น ทำให้เข้าในระบบการทำงานของ Virseaul และ 3D มากยิ่งขึ้น

ปัญหา เนื่องจากไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะประชุม ทำให้ข้อมูลบางส่วนที่ตัวแทนแต่ละหน่วยงานถามมานั้น ไม่สามารถตอบเองได้ในทันที


วิธีแก้ไขปัญหา เมื่อพี่ผู้เสนอเรื่องเข้าประชุม เข้ามา ก็แจ้งให้พี่ทราบเพื่อจะได้ชี้แจงส่วนที่หน่วยงานถามมาเอง เพื่อความชัดเจนและถูกต้องที่สุด

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 3

วันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2552 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มระบบฐานข้อมูล(ศทส.)

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์สัปดาห์นี้นั่งตรวจเว็บไซต์กระทรวงฯ และส่งไฟล์ชี้แจงในส่วนที่ต้องแก้ให้กับบริษัทรับเหมาซึ่งรับผิดชอบส่วนนี้ ได้แสดงความคิดเห็นในส่วนของเว็บโดยรวม และข้อผิดพลาดต่าง ๆ ซึ่งทำให้เราต้องคอยศึกษาและอัพเดทเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติมอยู่เสมอ รวมทั้งเช็คเว็บไซต์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพื่อถามที่อยู่เว็บไซต์ในส่วนของศูนย์กลางข้อมูลวัฒนธรรมจังหวัดนั้นๆ พร้อมตรวจสอบว่าสามารถ link ไปได้และมีข้อมูลอยู่จริงหรือไม่ เพื่อสรุปผลให้ ผอ.ศูนย์ฯ ทำให้เข้าใจระบบงานมากขึ้นและต้องกระตุ้นตัวเองที่จะตามงานเพื่อให้มีคำตอบเมื่อเขาถาม ได้ใช้ทักษะด้านการฟังคือถอดเทปการประชุมและพิมพ์ให้ ผอ.กลุ่ม ซึ่งจะได้รู้ว่ามีอุปสรรคเรื่องไหนบ้างขณะอัดเทปไว้ จะได้ปรับปรุงไม่ให้เกิดปัญหาส่วนนี้อีกในการประชุมครั้งต่อไป อาทิตย์โดยภาพรวมจะค่อนข้างประสานงานกับหลาย ๆ ฝ่ายและต้องรู้ระบบรู้เวลาของแต่ละสถานที่รวมทั้งต้องรู้ในเรื่องที่จะประชุมครั้งนี้เพราะเกี่ยวกับกลุ่มที่ฝึกโดยตรง คือสามารถตอบได้เมื่อมีหน่วยงานภายในสังกัดโทรติดต่อสอบถามแต่หากไม่ได้จริง ๆ ก็จะรับเรื่องไว้และบอกให้พี่ผู้รับเรื่องทราบทันทีเพื่อจะประสานงานเองต่อ


ปัญหา ปัญหาเกิดทุกครั้งเมื่อถ่ายเอกสารเอง เพราะเครื่องชอบค้าง ๆ ทำให้ช้ามาก ๆ อีกเรื่องคือตอนฟังเทปการประชุม ฟังไม่รู้เรื่องเลยเพราะว่าคณะทำงานผู้เข้าร่วมการประชุมไม่เปิดไมโครโฟน ซึ่งทำให้เสียงไม่ชัดเจน บางท่านเสียงเบามาก ๆ และบวกกับไม่เปิดไมโครโฟนด้วยทำให้ต้องฟังหลายๆ รอบทำให้เสียเวลา

การแก้ปัญหาในส่วนของเครื่องถ่ายเอกสารก็ต้องเปิดออกมาดูว่ามีกระดาษติดอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ก็เปิดดูเพราะเครื่องไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของการถอดเทปนั้น ดีที่ได้เข้าฟังการประชุมด้วยแม้ว่าจะเป็นบางช่วงก็ตาม จึงพอจะจับใจความได้และอาศัยฟังซ้ำ ๆ ในที่ ๆ เงียบ ๆ ทำให้เข้าใจความหมายส่วนนั้นได้

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 2

วันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2552 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มระบบฐานข้อมูล(ศทส.)

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์ ได้นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งาน เช่น จดหมายวาระการประชุม ได้เรียนรู้ในการใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์ต่าง ๆ คือ เครื่องสแกน เครื่องถ่ายเอกสาร โทรศัพท์ และได้ประสานงานกับหน่วยงานภายในกระทรวงฯทำให้ทราบถึงขั้นตอนว่าต้องประสานใครก่อน และตอบปัญหาในบางส่วนที่ทำให้ใช้เวปกระทรวงไม่ได้ รวมทั้งเช็คฐานข้อมูลของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งแจ้งเรื่องมาให้ดูชื่อตารางและส่วนต่าง ๆ ว่าใช้งานได้หรือไม่ อีกทั้งคอยประสานงานกับทางบริษัทในส่วนของเว็ปกระทรวงส่วนไหนใช้งานไม่ได้และเพิ่มเติมข้อมูลส่วนไหนโดยโทรติดต่องานกับบริษัทบ่อย ๆ ทำให้เกิดความสัมพันที่ดีในการประสานงานทั้งองค์กรภายในและภายนอก

ปัญหา ก็คือไม่สามารถแก้ไขฐานข้อมูลของจังหวัดมหาสารคามเองได้ เพราะเสี่ยงหากกดผิดไปอาจเสียหาย จึงบอกรายละเอียดในส่วนที่เช็คไปให้แก่ผู้ดูแลการฝึก อีกปัญหาคือทางบริษัทแจ้งไว้ว่าจะให้คนมารับดีวีดีเพื่อนำข้อมูลลงเว็บไซต์ แต่ไม่ติดต่อกลับมาทำให้เกิดความล่าช้าเพราะเป็นงานด่วน


การแก้ปัญหา ติดต่อกลับไปบริษัทเช็คว่าจะให้คนมารับดีวีดีกี่โมง แต่แล้วก็ต้องไปส่งเองที่ไปรษณีย์เพราะเลยเวลาทำการของกลุ่มอำนวยการแล้ว

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 1

วันที่ 2-6 พฤศจิกายน 2552 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มระบบฐานข้อมูล(ศทส.)


สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นเพราะการมาฝึกงานที่ศูนย์นี้ แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับแขนงที่เรียน แต่มีหลายสิ่งที่ไม่มีในการเรียน ได้เห็นระบบการทำงานของหน่วยงานจริง ๆ ได้ใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน เช่น Ws_FTP และ Edit Plus (ใช้แก้ไข code)ทำการ up link สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดต่าง ๆ พร้อมทั้งยังได้เรียนรู้การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น Admin ในบางจังหวัดลืมรหัสผ่าน ก็จะโทรมาแจ้งทางศูนย์เทคโนฯ พี่ผู้คุมการฝึกประสบการณ์ก็ได้ให้ความรู้ในเรื่องของ Database โดยดู code php ในส่วนที่มีปัญหา สอนวิธีการแก้ไขและตรวจสอบว่าแก้ไขแล้วใช้งานได้จริงหรือไม่ วิธีการต่าง ๆ ทำให้ได้ความรู้และเข้าใจกระบวนการมากขึ้น นอกจากนี้ได้ทดลองใช้โปรแกรม SnagIT 7 เป็นโปรแกรม capture ข้อมูลจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำการ capture ทั้งหน้า web เพื่อให้เห็นรายละเอียดทั้งหมดของหน้า web เพื่อ print ออกมาเป็น paper เพื่อยื่นให้อีกฝ่าย นอกจากนี้ยังได้ประสานงานกับทางบริษัทผู้รับเหมาปรับปรุงและพัฒนาระบบของกระทรวงฯ เพื่อจะได้ทำการเช็คข้อมูลในส่วนที่บริษัทต้องดำเนินการให้กระทรวงฯ และเพื่อตรวจสอบข้อมูลว่าได้ดำเนินการตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ และต้องหมั่นติดต่อกับบริษัทไว้ตลอด เพราะผู้อำนวยการศูนย์เทคโนฯ จะถามอยู่เรื่อย ๆ นอกจากความรู้ยังได้ทำให้รู้จักรับผิดชอบสูงขึ้น ตรงต่อเวลา อีกทั้งการแต่งกาย การวางตัว รวมไปถึงกิริยามารยาทต้องปรับให้เข้ากับหน่วยงานที่ไปฝึกประสบการณ์

ปัญหา อุปกรณ์บางอย่างไม่เคยใช้ เช่น เครื่องสแกน เครื่องถ่ายเอกสาร รวมไปถึงโปรแกรมอีกหลายโปรแกรมที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน จึงทำให้การทำงานล่าช้าเพราะต้องเรียนรู้การใช้งานในส่วนนั้น ๆ และการสั่งงานไม่ชัดเจนเพราะไม่ได้สั่งโดยตรง ฝากพี่อีกฝ่ายมาทำให้เกิดความสงสัยว่าต้องการส่วนใด อะไร ยังไง เสร็จแล้วให้ใคร(หรือว่าเราเจ้าปัญหา!!555+)

การแก้ปัญหา ส่วนใหญ่จะถามพี่ผู้ดูแลประสบการณ์ พี่ ๆ จะสอนงานเรา หรือค้นคว้าข้อมูลทาง internet ในเรื่องของการปรับตัวก็หมั่นคุยกับพี่ ๆ จะได้ไม่เกร็งและทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น อาจจะมีโทรถามในส่วนที่ไม่เข้าใจ

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

ฮาร์ดดิสก์ทำงานอย่างไร


ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น «โดยใช้หน่วยการเปรียบเทียบเป็น บระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,024MB = 1GB» ในตอนแรกใช้ชื่อเรียกว่า 'ฟิกส์ดิสก์ fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ในบริษัท IBM เรียกว่า วินเชสเตอร์ส Winchesters
ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ จานบันทึกแบบแข็ง เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ จานบันทึกแบบอ่อน
ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา PDA จนกระทั่งภายใน โทรศัพท์มือถือ บางรุ่นตั้งแต่ภายในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาเช่นยี่ห้อ (โนเกีย และ ซัมซุง สองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์

หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
- หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
- สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
- สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
- แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
- เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 ถึง 200 จิกะไบต์ ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
- เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ
- อัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที
- เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที

การเก็บข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็ก ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น

ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 1.5 เทระไบต์ ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS network attached storage เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN storage area network เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล