วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

ทำไมยาคูลท์ถึงมีแต่แบบขวดเล็ก




หลายคนสงสัยไหมว่าทำไมยาคูลท์ถึงไม่มีขวดใหญ่เลย เพราะคนที่ทานเยอะ เมื่อดื่มแล้วไม่อิ่ม จริงไหม

ยาคูลท์ (Yakult) เป็นเครื่องดื่มคล้ายโยเกิร์ตชนิดหนึ่ง ถูกคิดค้นโดย ศาสตราจารย์ชิโระตะ มิโนะรุ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต เกิดจากกระบวนการหมักของนมพร่องมันกับน้ำตาลและแบคทีเรียแลกโตบาซิลลัส ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในระบบดูดซึมอาหารของมนุษย์ ซึ่งส่งผลช่วยให้ระบบในร่างกายของมนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น ชื่อของยาคูลท์มาจากภาษาเอสเปรันโต คำว่า Jahurto ซึ่งหมายถึงโยเกิร์ต นั่นเอง

โดยปกติธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเรา และเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อย และหมักในทางเดินอาหารในส่วนที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถจะย่อยได้ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะคอยช่วยเหลือ แต่ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นเดียวกัน คืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมา ซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 ซีซี ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัส โดยจะสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า มีปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0x10 ( ยกกำลัง 9 )

ถ้าทำยาคูลท์ให้มีขนาดขวดใหญ่พอ ๆ กับยาคูทล์ 6 ขวดเล็กรวมกันแล้วละก็ คงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่ เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอ หรือถ้าจะทำขนาด 450 ซีซี ขึ้นมาจริงๆ แล้ว ลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้ แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคย

และถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษขึ้นได้ ทานวันล่ะขวดก็เพียงพอแล้ว คนที่ไม่ทานเลยก็ไม่เป็นอะไร เพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว อีกเรื่องที่ควรสังเกต เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่บริโภคยาคูลท์ก็คือ อย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขาดและเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ใน อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ได้จุลินทรีย์ที่พร้อมจะทำงานให้เราได้ทันที

ไม่มีความคิดเห็น: